ปวดฟัน

ทำความรู้จักฟันของเรา

อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเมื่อเกิดอาการปวด หรือเสียวฟันมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ก็ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามมากขึ้น

ส่วนประกอบของฟัน มีอะไรบ้าง?

ฟันของเรา ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ตัวฟัน (Crown) เป็นส่วนที่มองเห็นได้ด้วยตา มีลักษณะเป็นรูปร่างสีขาว และส่วนที่สอง คือ รากฟัน (Root) รากฟันจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรและมีเหงือกปกคลุมอีกชั้น ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากในช่องปาก
โดยหากแบ่งตามโครงสร้าง สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน ชั้นแรกเป็นชั้นเคลือบฟัน (Enamel)
หากอยู่บริเวณรากฟันจะเรียกชั้นเคลือบรากฟัน (Cementum) ซึ่งชั้นเคลือบฟันจะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง ถัดจากชั้นเคลือบฟันจะเป็นในส่วนของชั้นเนื้อฟัน (Dentin) ชั้นเนื้อฟันจะมีโครงสร้างลักษณะเป็นท่อเล็กๆ (Dentinal tubule) โดยจะมีเส้นประสาทเข้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อสัมผัสความร้อนหรือความเย็น จะมีการเคลื่อนไหวของเส้นประสาท ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการเสียวฟันขึ้นมาได้ ถัดจากชั้นเนื้อฟันจะเป็นชั้นโพรงประสาทฟัน (Pulp) ซึ่งชั้นโพรงประสาทฟันจะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทค่อนข้างมาก

สาเหตุของอาการปวดฟัน

โดยปกติแล้วเมื่อมีอาการปวดฟันเกิน มักมีสาเหตุมาจากฟันโดยตรง มากถึงร้อยละ 80 และอีกร้อยละ 20 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการปวดฟันโดยตรง ซึ่งหากมีอาการปวดฟัน ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุและขอคำปรึกษาจากทันตแพทย์ได้โดยตรง

สาเหตุของการปวดฟันโดยตรง ได้แก่

    1.  อาการฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน (Dental Caries)

      สาเหตุของอาการฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน
      อาการฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดจากการที่รับประทานอาหารเข้าไป แล้วไม่ได้แปรงฟัน ทำให้เศษอาหารติดบริเวณตัวฟัน หากไม่มีการนำเศษอาหารออก จะเกิดการสะสมของแบคทีเรียบางชนิดและผลิตกรดที่ทำลายชั้นเคลือบฟันและชั้นเนื้อฟัน
      อาการฟันผุ แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่
      ระดับที่ 1 ฟันผุในส่วนชั้นเคลือบฟัน
      ลักษณะที่สังเกตได้ คือ มีจุดเล็กๆ สีดำบริเวณตัวฟัน หรือบางรายมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นเหมือนชอล์กบริเวณชั้นเคลือบฟัน เป็นสัญญาณว่าฟันเริ่มผุบริเวณชั้นเคลือบฟัน หากสังเกตพบลักษณะแบบนี้ ควรเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษา ซึ่งการรักษาจะเป็นการรักษาทันตกรรมป้องกัน ด้วยการเคลือบฟลูออไรด์ หรือเคลือบหลุมร่องฟัน (Sealant) หรือกำจัดฟันผุ และเคลือบหลุมร่องฟันร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้โครงสร้างของฟันแข็งแรงและทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะช่วยไม่ให้ฟันผุลุกลามต่อไปในชั้นอื่นๆ ได้
      ระดับที่ 2 ฟันผุในส่วนชั้นเนื้อฟัน
      หากผู้ป่วยมีฟันผุและปล่อยให้การผุดำขึ้น ฟันผุนั้นจะเข้าไปในส่วนของชั้นเนื้อฟัน ซึ่งชั้นเนื้อฟันจะมีเส้นประสาท เมื่อมีการผุเข้าไปในชั้นนี้ จะทำให้เส้นประสาทมีการสัมผัสกับความร้อน และความเย็น ส่งผลให้รู้สึกเสียวฟันขึ้นมาได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมาพบทันตแพทย์ด้วยอาการเสียวฟัน การรักษาในระดับนี้ ทันตแพทย์จะกรอฟันเพื่อกำจัดเศษฟันที่ผุออก และนำวัสดุที่มีสีเหมือนฟันอุดลงไป
      ระดับที่ 3 ฟันผุในส่วนชั้นโพรงประสาทฟัน
      หากผู้ป่วยยังละเลย ปล่อยให้ฟันผุดำเนินไปในชั้นนี้ ฟันจะผุเข้าไปในส่วนชั้นโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้มีอาการปวดฟัน การรักษาทำได้โดยการรักษาคลองรากฟัน และทำการครอบฟันต่อไป
      ระดับที่ 4 ฟันผุในส่วนชั้นโพรงประสาทฟันและมีการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน
      หากผู้ป่วยไม่ยอมรักษา เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ในส่วนของปลายรากฟัน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการ แต่หากปล่อยทิ้งนานไป เชื้อโรคอาจเข้าสู่บริเวณช่องว่างด้านแก้ม หรือช่องว่างบริเวณตรงขากรรไกร ทำให้เกิดการบวมหรือเข้าสู่บริเวณโพรงไซนัส ส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมขึ้นมาได้

    2.  ฟันร้าว ฟันแตก (Crack Tooth

      โพรงประสาทฟันติดต่อกับภายนอกผ่านรอยร้าวได้ / น้ำเย็น / น้ำร้อน ก็ส่งถึงโพรงประสาทฟัน  ทำให้ปวดได้
      สาเหตุของอาการฟันร้าว ฟันแตก
      ฟันร้าว ฟันแตก เกิดจากการกัดโดนของแข็งหรือกระดูกเมื่อรับประทานอาหาร หรือเนื่องมาจากอุบัติเหตุ โดยอาการฟันร้าวจะตรวจพบค่อนข้างยาก โดยเฉพาะฟันร้าวที่ไม่รุนแรง บางครั้งอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งอาจจะต้องใช้การตรวจเพิ่มเติม เช่น การย้อมสี การทดสอบด้วยการกัด เป็นต้น ซึ่งหากร้าวในชั้นเคลือบฟัน ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ แต่สังเกตได้จากการมีรอยร้าวเป็นเส้นบางๆ แต่ถ้าร้าวไปถึงชั้นเนื้อฟันผู้ ป่วยจะมีอาการเสียวฟันร่วมด้วย แต่หากรอยร้าวเข้าสู่โพรงประสาทฟัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดฟัน
      การรักษาอาการฟันร้าว ฟันแตก
      ในกรณีที่มีฟันร้าว แต่ยังไม่มีอาการ อาจใช้วิธีการตรวจทางคลินิก เพื่อหาเส้นรอยร้าว ทันตแพทย์จะเฝ้าติดตามอาการของคนไข้เป็นระยะ หรืออาจทำการอุดฟัน หรือทำการครอบฟัน เพื่อไม่ให้รอยร้าวดำเนินต่อไป หากพบว่ารอยร้าวลงถึงชั้นคลองรากฟัน อาจต้องทำการรักษาคลองรากฟันร่วมกับทำครอบฟัน

    3. ฟันฝังคุด (Impacted teeth)

      ฟันคุด (Impacted teeth) คือฟันซี่ใดก็ตามที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจมีกระดูกหรือเหงือกมาปิดขวาง หรือมีฟันขึ้นมาแต่เอียงไปชนฟันข้างเคียง โดยฟันคุดมักจะพบที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุด หรือบางครั้งเกิดบริเวณตำแหน่งของฟันเขี้ยวได้ เมื่อฟันฝังคุดขึ้นมาและอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เหงือกบริเวณที่คลุมฟันคุดที่กำลังขึ้น มีการอักเสบบวมแดง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวด บวม ตามมาได้ หากผู้ป่วยไม่ผ่าฟันคุดออก อาจเกิดปัญหาตามมา ได้แก่
      1. เกิดการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟันคุด เนื่องจากมีเศษอาหารไปติดตรงบริเวณใต้เหงือกที่ฟันคุดกำลังขึ้น
      2. ทำให้ฟันข้างเคียงผุ จากการที่ฟันคุดมีลักษณะการขึ้นที่ไม่ตั้งตรง ทำให้ทำความสะอาดได้ลำบาก
      3. กระดูกถูกทำลาย เนื่องจากฟันคุดมีลักษณะที่ขึ้นไม่ตั้งตรง ทำให้ทำความสะอาดลำบาก เกิดการอักเสบของเหงือกและกระดูกตามมาได้
      4. อาจทำให้เกิดถุงน้ำ และเนื้องอกจากฟันคุด
      5. แรงผลักอาจทำให้ฟันข้างเคียงซ้อนเก
      6. มีผลต่อการจัดฟัน

    4. โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontal disease)

      โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุมาจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี ทำให้มีคราบหินน้ำลาย (คราบหินปูน) และคราบจุลินทรีย์ เกาะบริเวณตัวฟันและรากฟัน ส่งผลให้มีการอักเสบของเหงือกและกระดูกบริเวณรอบฟัน โดยสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบ คือมีเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวม และฟันเริ่มโยก เป็นต้น ดังนั้น ควรแปรงฟันให้สะอาด กำจัดคราบจุลินทรีย์ออกให้หมด และแนะนำพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันและขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี

    5. เศษอาหารติดฟัน
      กรณีฟันห่าง ฟันผุเป็นรูใหญ่ด้านข้าง เป็นโรคเหงือกอักเสบ ฟันโยก หรือมีช่องว่างระหว่างฟัน เวลาเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่ๆ  เศษอาหารมักจะติดตรงช่องว่างเหล่านี้ กดให้เหงือกช้ำ เป็นที่สะสมของแบคทีเรีย ทำให้ปวดเหงือกและฟันบริเวณนี้มาก

สาเหตุของอาการปวดฟันที่ไม่ได้มาจากฟันโดยตรง ได้แก่

  1. การปวดเส้นประสาทบนใบหน้า (Trigeminal neuralgia)

    โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า เกิดจากการที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่ไปเลี้ยงบริเวณใบหน้า ถูกทับจากสาเหตุต่างๆ โดยส่วนมากมักเกิดจากเส้นเลือดสมองที่อยู่ใกล้เคียงไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติและไวต่อการกระตุ้นมากเกินไป นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ก้อนเนื้องอกหรือซีสต์ในสมองกดเบียดเส้นประสาท มีการอักเสบของเส้นประสาทจากโรค multiple sclerosis การบาดเจ็บของเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมาตรวจด้วยอาการปวดแสบร้อนบริเวณใบหน้า เมื่อลูบหน้า ล้างหน้าก็จะมีอาการแสบบริเวณดังกล่าว เหมือนมีเข็มทิ่มแทง เป็นต้น

  2. ไซนัสอักเสบ (sinusitis)

    สาเหตุหลักส่วนหนึ่งอาจจะมาจากฟัน เนื่องจากฟันบนด้านหลังใกล้โพรงไซนัส เมื่อมีฟันผุและลุกลามถึงชั้นโพรงประสาทฟัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อเข้าโพรงไซนัสได้ หรืออีกสาเหตุเกิดจากไซนัสอักเสบ โดยผู้ป่วยมักจะมาพบทันตแพทย์จากการปวดฟันบน และเมื่อเคาะ จะไม่สามารถระบุได้ว่าปวดฟันจากซี่ใด ซึ่งมักจะมีหวัดและน้ำมูกร่วมด้วย ซึ่งการวินิจฉัยของทันตแพทย์ต้องอาศัยการวินิจฉัยร่วมกับแพทย์หู คอ จมูก ร่วมกัน

  3. ปวดฟันจากกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร (Myofascial pain)

    สาเหตุของการปวดฟันจากกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร มีหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนอนกัดฟัน ปวดและเจ็บตามกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่การใช้ฟันผิดประเภท เช่น การกัดของแข็ง การนั่งเท้าคาง การเคี้ยวแบบลงน้ำหนักไปที่ฟันด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีการปวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้

อาการปวดฟัน ส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุมาจากฟันผุ  หากฟันผุไม่ลึกมากนักก็จะมีอาการเสียวฟัน แต่ถ้าเกิดมีฟันผุใกล้โพรงประสาทฟัน หรือผุทะลุโพรงประสาทฟัน ก็จะเริ่มมีอาการปวดเป็นบางครั้ง ปวดบ่อยขึ้น จนถึงปวดมาก ปวดตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งยาแก้ปวดก็ไม่สามารถช่วยได้!

ปวดฟันทำอย่างไรดี วิธีบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้น

หากยังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันที สามารถบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นด้วยตนเอง ได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  1. ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดฟันเพิ่มขึ้น หรือทำให้ประสาทฟันบาดเจ็บมากขึ้น
    เช่น
    – ของเย็นจัด : น้ำแข็ง ไอศกรีม
    – ของร้อนจัด : น้ำร้อน ชาร้อน กาแฟร้อน อาหารร้อน
    – อาหารที่มีรสหวานจัด รสเปรี้ยว
  2. ลดการกระทบกระแทกกับฟันซี่นั้น อาการปวดฟันจะเป็นมากขึ้น ถ้าฟันซี่นั้นถูกกระแทกบ่อยๆ หรือตัวฟันสูงกว่าซี่อื่นๆ บางครั้งฟันถูกหนุนลอยตัวขึ้นมาเพราะมีหนอง
  3. รับประทานอาหารที่ไม่ต้องใช้แรงเคี้ยวมาก เช่น อาหารนิ่มๆ เลี่ยงอาหารแข็งๆ หรือเหนียวๆ ที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวมาก  หรือเลี่ยงไปเคี้ยวอีกด้าน
  4. ใช้ไหมขัดฟัน ถ้าอาการปวดเกิดจากเศษอาหารติดฟัน อาการจะเป็นมากถ้าอาหารถูกอัดแน่นในซอกเหงือกเป็นเวลานานๆ วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้รีบเอาเศษอาหารเหล่านั้นออกให้เร็วที่สุด โดยการใช้ไหมขัดฟัน (Dental floss) ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟัน
  5. ใช้น้ำร้อนช่วยประคบ ถ้ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และมีอาการบวมเห็นได้ชัด การใช้น้ำร้อนช่วยประคบบริเวณที่บวมภายนอกช่องปากช่วยลดอาการปวดฟันได้ดี และช่วยเพิ่มการระบายหนอง  สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีทีเดียว
  6. น้ำมันกานพลู เป็นยาที่ช่วยลดอาการปวดฟันได้ ซึ่งมีการนำมาใช้เป็นเวลานานแล้ว โดยใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู แล้วอุดลงไปในรูที่ผุ  ฤทธิ์ของน้ำมันกานพลูจะออกฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดฟันที่ดีมาก
  7. อมเกลือแก้ปวดฟัน เกลือมีสรรพคุณที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดฟัน เราสามารถนำเกลือผสมกับน้ำอุ่น อมทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้

วิธีการข้างต้นนั้น ไม่ใช่เป็นวิธีการรักษาที่ถาวร เป็นเพียงบรรเทาอาการปวดชั่วคราว หากมีโอกาสพบทันตแพทย์ก็ไม่ควรรอช้า เพื่อรักษาให้ถูกต้องและตรงจุดที่สุด อาการของโรคฟัน โรคเหงือกจะได้หายอย่างถาวร และไม่ลุกลามต่อไป

จัดฟันปลอดเชื้อ ปลอดภัยจาก COVID-19 : ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลศิครินทร์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ทพ.ธีรภัทร ศิริวรรณ์ และ ทพ.ณัฐวุฒิ อุตรสัก
งานทันตกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Related Posts

แนะนำหนังสือดี-ที่เด็กมหาลัยต้องอ่าน
รียนจบมาแล้วจะได้ทำงานทันทีเลยไหม งานที่ใช่ในอุดมคติของเราเป็นยังไงกันแน่? เงินเดือนที่ควรจะได้คือเท่าไหร่? แล้วจะบริหารเงินในแต่ละเดือนอย่างไรให้พอใช้ดี? อายุตั้งเท่านี้แล้ว ทำไมถึงรู้สึกเหมือนยังไม่มีอะไรที่น่าภูมิใจในตัวเองเลย คิดว่าชาวคลับวัยมหาลัยที่กำลังเรียนอยู่หรือว่าเรียนใกล้จบแล้วหลายคน คงตั้งคำถามเหล่านี้วนไปวนมาในหัวกันอยู่บ่อย ๆ ยิ่งในปัจจุบันที่สังคมบีบบังคับให้เราต้องรีบประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ถึงจะกลายเป็นคนที่น่ายกย่อง รวมไปถึงการต้องเห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านไทม์ไลน์กันแทบจะทุกวัน ก็อาจจะทำให้เด็กจบใหม่วัย first...
Read more
ปล่อยให้เด็กปวดฟัน อันตรายกว่าที่คุณคิด
หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายรู้สึกกังวลใจเวลาเห็นเด็กปวดฟัน เพราะนอกจากจะไม่ได้เห็นสีหน้าของลูกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มจากการทานของอร่อยแล้ว ยังต้องเห็นลูกน้อยทรมานจากอาการปวดฟันจนนอนไม่ได้ ส่งผลให้เด็กๆ หงุดหงิดง่าย ถ้าหากปล่อยไว้ในระยะยาวอาจส่งผลถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกช้าลงด้วย แม้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กปวดฟันนั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากพฤติกรรมการดูแลฟันของเด็กเองด้วย วันนี้ทาง Homey...
Read more
ปวดฟันเกิดจากฟันคุดขึ้น หรือเปล่า ?
ฟันคุด คือ อะไร ? ฟันคุด คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ มีลักษณะการขึ้นไม่เต็มที่หรือมีแนวการขึ้นของฟันที่ผิดปกติ ทำให้อาจเห็นเพียงฟันบางส่วนหรือไม่เห็นเลยเพราะเนื้อฟันฝังตัวอยู่ใต้เหงือก บริเวณกระดูกขากรรไกร ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth)...
Read more
แนะนำที่เที่ยวสุดฮิตพาเด็กๆเที่ยวกรุงเทพ
คุณพ่อคุณแม่มักจะมองหาที่เที่ยวและกิจกรรมช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์สำหรับเด็ก ๆ กันอยู่  กรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจที่สามารถทำกิจกรรมพร้อมกันทั้งครอบครัวและอีกทั้งเสริมสร้างความรู้ รวมถึงเปิดโลกและสร้างจินตนาการสำหรับหนูน้อยที่รัก เรียกว่าเที่ยว เล่น แต่มีผลประโยชน์หลายต่อเราได้รวบรวมสถานที่น่าสนใจไว้ให้แล้ว เราไปดูกันเลย... Sea...
Read more
Translate »